ปิดช่องโหว่ เปิดโอกาสเติบโตในธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ด้วย Customer Relationship Management

Riki Kimura wisible author

Riki Kimura

Digital Marketing Executive at Wisible

ปิดช่องโหว่ เปิดโอกาสเติบโตในธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ด้วย Customer Relationship Management
ปิดช่องโหว่ เปิดโอกาสเติบโตในธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ด้วย Customer Relationship Management

ทุกคนทราบกันดีว่า “การเริ่มต้นทำอะไรใหม่สักอย่างมักลำบากเสมอ” โดยเฉพาะการทำธุรกิจ ต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์นานหลายปี ผ่านอุปสรรคมากมาย กว่าจะสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรและประสบผลสำเร็จมีฐานลูกค้าที่เชื่อมั่นต่อธุรกิจของเรา

ยิ่งธุรกิจที่มีความซับซ้อนตั้งแต่กระบวนบริหารต้นทุนไปจนถึงปิดการขาย อย่างธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่มีปัจจัยมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนการผลิตสูง, งบประมาณจำกัด, การ Deal กับผู้ประกอบการอื่น ๆ หรือทำใบเสนอราคาที่มีความยุ่งยาก เป็นต้น ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เต็มไปด้วยช่องโหว่ เปรียบเสมือนการปีนเทือกเขาแอลป์ที่สูงชัน พร้อมกระเป๋าสะพายหลังใบใหญ่กับความคาดหวังที่จะขึ้นไปอยู่จุดสูงสุด ท่ามกลางมรสุมรอบด้านและคู่แข่งคนอื่น ๆ ปีนป่ายอยู่ข้าง ๆ  จนเราเริ่มถอดใจไม่ปีนต่อ

มรสุมที่ว่านี้ก็เหมือนช่องโหว่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่ยากจะทำให้คุณประสบผลสำเร็จได้ แต่อย่างเพิ่งถอดใจไปง่าย ๆ เพราะทุกช่องโหว่มีทางอุดได้เสมอกับ Customer Relationship Management ที่จะช่วยเปิดโอกาสให้องค์กรของคุณเติบโตในธุรกิจได้ก้าวกระโดด จะเป็นอย่างไร มาพบคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้

5 ช่องโหว่ของธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่ทุกคนต้องเผชิญ

จากที่กล่าวไปข้างต้น ถึงช่องโหว่ของปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไปบ้างแล้ว แต่นั้นเป็นบางส่วนเท่านั้น จากประสบการณ์ของเราที่ได้สัมผัสโดยตรงจากลูกค้าอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มาหลากหลาย ทำให้เราทราบถึงช่องโหว่ที่ลูกค้าหลายท่านเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับ 5 ช่องโหว่ ได้แก่

1. ช่องโหว่การบริหารองค์กรและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน

สิ่งสำคัญที่หลายองค์กรอาจจะมองข้ามไป จนเกิดเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่โดยไม่รู้ตัวกับการสร้างวิสัยทัศน์ที่ดีให้กับคนในองค์กรและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น เขียน KPI, การตั้งเป้าหมายยอดขายที่ชัดเจน, วิเคราะห์แนวโน้มสินค้าขายดี, เขียนรายงานเกี่ยวกับสินค้า เช่น การซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์, การสต็อกสินค้า เพื่อให้คนภายในองค์กรมองเห็นทิศทางการทำงานว่าควรโฟกัสไปที่จุดไหนบ้าง เพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : KPI คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อองค์กรธุรกิจ

ช่องโหว่กำไรน้อย ถ้าตัดสินใจพลาดขาดทุนได้ง่าย ๆ
ช่องโหว่กำไรน้อย ถ้าตัดสินใจพลาดขาดทุนได้ง่าย ๆ

2. ช่องโหว่กำไรน้อย ถ้าตัดสินใจพลาดขาดทุนได้ง่าย ๆ

อย่างที่หลายคนรู้กันดีว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์นั้นเป็นธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่า กำไรน้อยมาก ๆ Margin Of Error ต่ำ สวนทางกับขั้นตอนการผลิตและต้นทุนของสารเคมี ซึ่งสารเคมีบางประเภทก็มีข้อจำกัดของปริมาณที่สามารถมีไว้ครอบครองได้ ทำให้ต้องวางกลยุทธ์ทุกขั้นตอนอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะหากมองข้ามจุดไหนไป อาจนำไปสู่การขาดทุนได้ง่าย ๆ ดังนั้น เราจำเป็นต้องคอยติดตามทุกกระบวนการ ตั้งแต่เปิดการขาย -> ใบเสนอราคา -> ปิดการขาย -> การจัดส่งสินค้า -> การชำระเงิน -> ลูกค้าได้รับสินค้าถูกต้องและครบถ้วน

3. ช่องโหว่ราคาต้นทุนสินค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์นั้นต้องบอกว่าเป็นธุรกิจที่มีความแตกต่างจากประเภทธุรกิจอื่น ๆ อย่างชัดเจน ทั้งมีสารผลิตสินค้าที่แตกต่างจากธุรกิจอื่นและกระบวนการผลิตจะมีความซับซ้อน รวมไปถึงสารเคมีบางประเภทจะมีต้นทุนสูง ซึ่งทุกเดือนต้นทุนสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ ด้วยเหตุนี้การวางแผนสต็อกสินค้า การคำนวณต้นทุนที่ต้องจ่ายต้องมีความแม่นยำ หากซื้อตอนที่ราคาสูงก็อาจนำไปสู่ข้อเสียเปรียบกับคู่แข่งรายอื่นได้

ดังนั้น ควรวิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ดึงดูดความสนใจของลูกค้า โดยเฉพาะการทำ Sale Force Automation จะช่วยติดตามลูกค้าประจำและคำนวณความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

4. ช่องโหว่ฐานลูกค้า

การทำธุรกิจสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้ 75% มักมาจากลูกค้าเก่าที่มีการกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ หากเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ภาษาธุรกิจเรียกว่า ลูกค้าไซซ์ M, ลูกค้าไซซ์ L แน่นอนว่า Sales ของแต่ละบริษัทไม่มีทางที่จะพลาดการติดตามและอัปเดตข้อมูลให้แก่ลูกค้ารายใหญ่อยู่เสมอ จนบางครั้งมองข้ามลูกค้ารายเล็ก ๆ อย่างลูกค้าไซซ์ S ไป ทำให้ไม่มียอดขายจากลูกค้าใหม่เกิดขึ้น หากเดือนไหนลูกค้ารายใหญ่ตัดสินใจไม่ซื้อสินค้ากับบริษัทของคุณ ยอดขายที่ตั้งเป้าเอาไว้อาจไม่ถึง

ดังนั้น ควรแบ่งประเภทของลูกค้าออกมาอย่างชัดเจน และแบ่งทีมงานดูแลลูกค้า Work Flow Automation เพื่อติดตามลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : วิธีใช้ Sales Pipeline เพิ่มยอดขายแบบ Step by Step

อุดช่องโหว่การติดตามการชำระเงินและการขนส่งสินค้าได้ง่าย ๆ ด้วยฟังก์ชั่น Delivery Module ของ Wisible
อุดช่องโหว่การติดตามการชำระเงินและการขนส่งสินค้าได้ง่าย ๆ ด้วยฟังก์ชั่น Delivery Module ของ Wisible

5. ช่องโหว่เก็บข้อมูลของลูกค้าหลังปิดการขาย

หลายครั้งที่ปิดการขายกับลูกค้า เรามักจะคิดว่างานจบเพียงเท่านี้แล้ว ทำให้พลาดโอกาสในการพูดคุยสอบถามลูกค้าถึงความต้องการในครั้งถัดไป ทำให้การทำใบเสนอราคาในครั้งถัดไป เราอิงตามฐานข้อมูลเดิม ซึ่งในเดือนนั้นลูกค้าอาจจะเพิ่มสต็อกหรือลดสต็อกสินค้าก็ได้ ทำให้เสียเวลาไปกับการตามเก็บเงินให้ครบถ้วน ซึ่งเงินมักไม่ตรงกับ Signed Quote

ดังนั้น องค์กรควรเพิ่มบริการหลังปิดการขายเข้ามา คอยติดตามการขนส่งสินค้า และการชำระเงินของลูกค้า Delivery Module เพื่อสร้างบทสนทนาในการเก็บข้อมูลของลูกค้า ซึ่งระบบนี้จะช่วยแยกย่อยรายละเอียดต่าง ๆ ออกมา เพื่อติดตามการส่งของสินค้าแต่ละครั้ง และชำระเงินหลายงวดได้ หากราคาหรือจำนวนสินค้าไม่ตรงกับใบเสนอราคาก็สามารถแทร็กข้อมูลได้เช่นเดียวกัน

ซึ่งฟังก์ชัน Delivery Module นี้ เป็นฟังก์ชันเฉพาะของ Wisible เจ้าแรกเจ้าเดียวที่สามารถทำขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบขึ้นมา เพื่อซัพพอร์ตธุรกิจเคมีภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Customer Relationship Management คืออะไร ช่วยธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ได้อย่างไร

CRM ย่อมาจากคำว่า Customer Relationship Management พูดให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ คือ เป็นระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งปัจจุบันนี้หากพูดถถึง CRM ส่วนใหญ่มักหมายถึง CRM Software เปรียบเสมือนไดอารีที่คอยเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์การตลาด กลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย ทำให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำ ๆ เพื่อซัปพอร์ต Customer Journey ลูกค้าได้อย่างตรงจุด สร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ได้ เช่น

  • ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มความต้องการของลูกค้าได้
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าเก่า ทำให้เกิดการซื้อซ้ำ
  • ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ จนเกิด Brand Loyalty
  • ช่วยสร้างผลกำไรระยะยาวให้แก่ธุรกิจ
  • ช่วยสร้างยอดขายอัตโนมัติได้ด้วยระบบของ CRM
  • ช่วยสร้างแคมเปญใหม่ ๆ ได้ เพราะมีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : CRM คืออะไร ประโยชน์ของ CRM คืออะไร

กลยุทธ์ Customer Relationship Management เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง?
กลยุทธ์ Customer Relationship Management เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง?

กลยุทธ์ Customer Relationship Management เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง?

CRM ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่มีปัจจัยเชื่อมโยงมากมาย สามารถจัดการได้ง่ายและเป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ กระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้เสมอ พออ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยกันแล้วใช่ไหม ว่า Customer Relationship Management เหมาะกับธุรกิจแบบไหนกันแน่? ซึ่งเราได้แบ่งประเภทออกเป็น 2 ธุรกิจหลัก ๆ ได้แก่ 

ธุรกิจ B2B

ธุรกิจ B2B ย่อมาจาก Business to Business ซึ่งเป็นธุรกิจการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานธุรกิจ ซึ่ง ระบบ CRM นั้นเหมาะกับธุรกิจ B2B เพราะ CRM นั้นเป็นเครื่องมือที่คอยเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ เพื่อให้ Sales ขององค์กรสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างท่องแท้ เข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

ธุรกิจ B2C

ธุรกิจ B2C ย่อมาจาก Business to Customer ซึ่งเป็นธุรกิจระหว่างผู้ขายและลูกค้าโดยตรง ซึ่ง CRM เหมาะกับธุรกิจ B2C ที่ขายสินค้ามูลค่าสูง อย่างเช่น รถยนต์, บ้าน, จิวเวอร์รี่ อย่างมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ลูกค้าใช้เวลาในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าค่อนข้างนาน ดังนั้น ระบบ CRM เข้ามาช่วยทำให้ผู้ขายรับรู้ถึงพฤติกรรมความต้องการของลูกค้า และสามารถสร้างกลยุทธ์ดึงดูดความสนใจของลูกค้าและสามารถปิดการขายได้ในที่สุด

จะเห็นว่า Customer Relationship Management มีความสำคัญต่อธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบไหน ก็สามารถใช้ CRM เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้ดี โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่หลายคนรู้อยู่แล้วถึงเรื่องกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนไปจนถึงราคาต้นทุนที่แพงเอามาก ๆ การดึง CRM เข้ามาเพื่ออุดช่องโหว่ธุรกิจอุตสาหกรรม ช่วยกระตุ้นยอดขายให้และเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาได้อีกด้วย

หากคุณเป็นอีกหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และกำลังมองหาเครื่องมือที่จะมาช่วยพัฒนาธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปิดช่องโหว่ทั้งหมดได้ในเครื่องมือเดียว Wisible คือตัวช่วยที่ใช่สำหรับคุณ เพื่อเสริมความมั่นใจให้คุณมากขึ้น

สามารถนัด Demo เพื่อพูดคุยกับทีมงานและสาธิตการใช้งานได้เลยทันที 

Book Demo Wisible

Similar Posts