Lead Quality by Channels คุณภาพของลีดที่ธุรกิจ B2B มักมองข้าม

Riki Kimura wisible author

Riki Kimura

Digital Marketing Executive at Wisible

Lead Quality by Channels คุณภาพของลีดที่ธุรกิจ B2B มักมองข้าม

Lead Quality by Channels

หากวันนี้ คุณคือเจ้าของกิจการที่มีเครื่องมือสำหรับสื่อสารทางการตลาดทั้งช่องทาง Online และ Offline และในหนึ่งวันมีลีดที่เข้ามาสอบถามข้อมูลสินค้ามากมาย ทว่าคำถามคือ ลีดที่เข้ามาจากช่องทาง Online และ Offline มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่สามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นลูกค้าได้?

หรือทุกวันนี้คุณอาจกำลังลงเงินและแรงไปกับเครื่องมือในช่องทางใดช่องทางหนึ่งจนลืมคิดไปว่าช่องทางนั้นอาจไม่ได้นำมาซึ่งลีดที่มีคุณภาพ วันนี้ Wisible มองเห็นความสำคัญของเรื่อง Lead Quality by Channels หรือคุณภาพของลีดที่มาจากแต่ละช่องทาง เพื่อที่จะช่วยทำให้ผู้ประกอบกิจการได้ใช้งานเครื่องมือที่มีอยู่ได้อย่างประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ

01 ทำไมต้องให้ความสำคัญกับ Leas Quality by Channels?

จริงอยู่ที่ทีมมาร์เกตติ้งอาจมี KPI ในการวัดผลการทำงานในเรื่องของการเพิ่มจำนวนลีด และทำให้เรามักคิดกันว่า ยิ่งมีช่องทางการสื่อสารหลากหลายมากเท่าไหร่ ก็อาจช่วยเพิ่มจำนวนลีดได้มากยิ่งขึ้น และเมื่อลีดถูกเพิ่มเข้ามากองที่ต้นน้ำ รอเวลาถูกส่งต่อไปยังทีมเซลเพื่อ Approach

ถ้าหากลีดมีปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับ Capacity ของทีมเซล ก็คงไม่มีปัญหาในการเปลี่ยนจากลีดให้กลายเป็นลูกค้า แต่ถ้าหากลีดที่เข้ามานั้นมีเยอะจนเกินขีดความสามารถที่ทีมเซลจะรับไม้ต่อได้ ลีดเหล่านั้นต้องถูกปล่อยค้างทิ้งไว้ และยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปแต่ยังไม่สามารถ approach พวกเขา โอกาสที่จะสูญเสียลีดก็ยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจเป็นการปล่อยโอกาสเหล่านั้นหลุดไปอยู่ในมือคู่แข่งได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว

หรือในขณะเดียวกัน ถ้าหากทีมเซลไม่รู้เลยว่าลีดที่เข้ามานั้นมาจากช่องทางไหนบ้าง อาศัยเพียงแค่ติดต่อไปตามลำดับเวลาที่ได้รับรายชื่อมาจากทีมมาเกตติ้ง สุดท้ายปัญหาก็จะเกิดขึ้นกับบริษัทในเรื่องของต้นทุนที่อาจลงเงินไปผิดที่ผิดทาง บาง Channel อาจไม่จำเป็นแต่บริษัทยังคงมีไว้และลงทุนกับมันอยู่เรื่อย ๆ ทุกเดือน หรือบาง Channel อาจจำเป็นมากเพราะสามารถเปลี่ยนลีดให้กลายเป็นลูกค้าได้เยอะที่สุด ทว่าบริษัทอาจไม่ได้ให้ความสำคัญมากพอและอาจใช้งานเครื่องมือเหล่านั้นได้ไม่เต็มความสามารถนั่นเอง

และจาก The B2B Key Metrics Report Thailand 2021 ที่ Wisible ได้จัดทำขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เราได้พูดถึงตัวชี้วัดสำคัญอย่าง %Win Rate by Channel หรือ จำนวนลูกค้าโดยเฉลี่ยจากแต่ละช่องทาง ที่หมายความว่าคุณไม่ควรสนใจเพียงแค่จำนวนลีดที่เพิ่มขึ้น เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดูอัตราส่วนในการเปลี่ยนจากลีดให้กลายเป็นลูกค้า หรือที่เรียกว่า Lead with Highest ROI เพราะลีดที่เพิ่มขึ้นไม่ได้หมายความว่ารายได้ของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นด้วย คลิกเพื่ออ่าน E-Book

ถ้าเราใช้ตัวชี้วัด %Win Rate by Channel เพื่อคำนวณอัตรส่วนของลีดต่อลูกค้าจากแต่ละช่องทาง ก็จะทำให้ทีมบริหารสามารถบริหารต้นทุนในแต่ละช่องทางการสื่อสารได้อย่างถูกจุด ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และวางแผลกลยุทธ์ในการเน้นไปที่ช่องทางการสื่อสารที่สร้างลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


02
Metrics สำคัญ ชี้วัด Lead Quality

Metrics สำคัญ ชี้วัด Lead Quality

การวัดว่าช่องทางใดที่จะช่วยสร้าง Lead Quality ได้จึงจำเป็นต้องมีตัวชี้วัด วันนี้ Wisible จึงหยิบยกตัวชี้วัดที่สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณพิจารณาถึงช่องทางที่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อทำการตลาดและเป็นช่องทางที่จะช่วยสร้าง Lead with Highest ROI ได้ ดังนี้ค่ะ

1. Return of Investment (ROI) 

ROI หรือ “Return of Investment” หมายถึง สิ่งที่ได้รับกลับมาจากการลงทุน ซึ่งก็คือยอดขาย และการลงทุนที่ว่าก็ไม่ได้หมายความถึงแค่ต้นทุนที่เป็น Cost ในรูปแบบมูลค่า เช่น ต้นทุนค่าโฆษณา, ต้นทุนในเรื่องของค่าแรงพนักงาน etc. เท่านั้น แต่ยังรวมถึง Cost ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น Opportunity Cost เพราะฉะนั้น การคิดหา ROI จึงทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกที่จะรวมต้นทุนที่ลงทุนไปในเรื่องใดบ้าง แต่ในบทความนี้ เราจะยกตัวอย่างของการคิดหา ROI โดยเทียบกับช่องทางที่เลือกลงทุน โดยสามารถแบ่งวิธีคิดได้ดังนี้

1.1) ROI จาก Google Analytics 

สูตรการคำนวณในการหา ROI นั้นก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักการตลาด ปัจจุบันเองเราก็มีเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อหา ROI ได้อย่างสะดวกด้วยสูตรการคำนวณจาก Google Analytics โดยใช้วิธีคิดดังนี้

● (Conversion Value – Advertising Cost) / Advertising Cost X 100 = ROI 

โดยที่ Conversion Value = ยอดขายที่เกิดขึ้นจากการโฆษณา

Advertising Cost = ต้นทุนโฆษณา

ตัวอย่างเช่น สำหรับแคมเปญ A เราวางแผนที่จะลงในSocial Media โดยเลือกใช้ Google Ads และ Facebook Ads เป็นช่องทางการสื่อสารแคมเปญ ในแต่ละช่องทางใช้เงินลงทุนเท่ากันที่ช่องทางละ 10,000 เเละเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน เราได้ยอดขายกลับมาในแต่ละช่องทางที่ไม่เท่ากัน นั่นคือ จาก Facebook 30,000 บาท และจาก Google 50,000 บาท

1) ROI จากแคมเปญ A ใน Facebook = (25,000-10,000)/10,000 x 100 = 150%

2) ROI จากแคมเปญ A ใน Google = (35,000-10,000)/10,000 x 100 = 250%

ด้วยเงินลงทุนในโฆษณาเท่ากัน เรากลับได้กำไรจาก Google สูงถึง 250% หรือด้วยเงินลงทุน 100 บาท ได้ยอดขาย 350 บาท หักต้นทุนแล้วก็คือกำไร 250 บาท

เท่ากับว่ายิ่งค่า ROI สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุนในแต่ละช่องทางมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วการวัดผลด้วยค่า ROI จะทำให้สามารถตัดสินใจเลือกลงเงินใน Channel ที่เหมาะสมกับการสร้างรายได้ของธุรกิจได้นั่นเอง

1.2) ROI by Won Deal Value

จากข้างต้นการวัด ROI จาก Google Analytics อาจไม่ได้ครอบคลุมการวัดผลของธุรกิจที่แท้จริง (เพราะคิดเพียงแค่ต้นทุนโฆษณา) Google จึงได้พัฒนาวิธีคิดที่เจาะจงเฉพาะต้นทุนโฆษณาเท่านั้นอย่าง ROAS (Return of Ads Spending) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ROAS ตัวชี้วัดโฆษณาที่บอกว่าเงินคุณจ่ายไปคุ้มแค่ไหน

เพราะฉะนั้น เพื่อให้ครอบคลุมของการทำงานในรูปแบบธุรกิจ B2B ที่ว่าต้นทุนการดำเนินงานนั้นควรถูกรวมเข้ามาอยู่ด้วย ต้นทุนพวกนี้ก็รวมถึงค่าแรงพนักงาน, ค่าดำเนินการต่าง ๆ ที่พนักงานต้องใช้เพื่อดีลลูกค้าให้ได้ เช่น ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเช่น Event หรือ Trade Show จึงสามารถคิด ROI ในรูปแบบนี้ได้

● Won Deal Value – (Marketing Cost+Selling Cost) / (Marketing Cost+Selling Cost) x 100

โดยที่ Won Deal Value = ยอดขายของดีลที่ปิดการขายได้

Marketing Cost = ต้นทุนในการสื่อสารทางการตลาด

Selling Cost = ต้นทุนในการขาย

วิธีคิดแบบนี้ก็คล้ายกับวิธีคิด ROI ในทางธุรกิจทั่วไปที่ต้องรวมต้นทุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยอดขายที่เกิดขึ้นมาวัดรวมด้วย เพราะอย่างที่ย้ำเสมอว่าลีดที่เพิ่มขึ้นไม่ได้หมายถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้น การรวมทุกต้นทุนที่เกี่ยวข้องเข้ามาก็เพื่อจะช่วยให้เราทราบว่าควรลงทุนในช่องทางไหนมากที่สุดนั่นเอง

เพราะถ้าหาก Deal Value ที่ได้มาตอนแรกเท่ากัน แต่ Conversion (หรือ Won Deal Value) กลับต่างกันเยอะก็อาจไม่คุ้มแรงที่จะลงทุนในช่องทางที่ Conversion น้อยกว่าอีกต่อไป

ดังนั้น ไม่ว่าจะช่องทางไหน ควรเทียบ Conversion ที่เกิดขึ้นกับ Afford ที่ได้ลงทั้งแรงกายและเงิน บาง Channel ที่ดูเหมือนไม่ต้องลงแรงพนักงานเท่าไหร่ (เช่น Social Media) ก็อาจได้มาซึ่ง Conversion ที่น้อย แต่บาง Channel ที่ต้องใช้ทั้งเงิน เวลา แรงกายของพนักงาน เช่นการจัด Event ก็ต้องคิดให้ถี่ถ้วนว่าคุ้มที่จะลงทุนในสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ และดีลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอาจเป็นดีลที่มี Potential Deal Value สูงหรือไม่ ซึ่งบางครั้งก็อาจมีปริมาณน้อย แต่กลับเป็น High Quality ดีลเลยก็ได้ และถ้าเป็นแบบนั้นก็อาจคุ้มที่จะลงแรง หรือส่งพนักงานไปที่ Event นั้น

2. Lead-to-Walk Conversion

ตัวชี้วัดที่วัดจากต้นน้ำว่าแผนการสื่อสารทางการตลาดได้สร้างลีดเป็นจำนวนเท่าไหร่ที่ได้เข้ามา Visit ร้านของเรา (หรือในธุรกิจB2C แบบ High Value อย่างโครงการบ้าน ก็คือการแวะเข้ามาชมบ้านโครงการ) อัตราของจำนวนลีดที่เดินเข้ามา Visit (หรือในแง่ของช่องทาง Online ก็คือจำนวนลีดที่มาเยี่ยมชมหน้า Landing Page) เมื่อเทียบกับเป้าที่วางไว้ว่าแคมเปญที่ทำขึ้นจะ Generate ลีดได้กี่คน ก็จะช่วยบอกได้ว่าแคมเปญที่ทำขึ้นประสบความสำเร็จและเป็นไปตามแผนมากเพียงใด เพื่อนำไปหาอัตราส่วนของ Walk to Buy Conversion ได้ต่อไป

3. Walk to Buy Conversion

ในขณะเดียวกัน เมื่อเทียบอัตราลีดที่เข้ามา Visit กับลีดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้ว เราก็ควรต้องดูต่อไปให้ลึกขึ้น ว่าลีดที่เข้ามา Visit แล้วจริงนั้น ได้กลายเป็นลูกค้าเรากี่คน (เท่ากับซื้อสินค้า) หรืออาจเรียกได้ว่าคือการหา Conversion Rate ด้วยการใช้วิธีคิดดังนี้

● Conversion Rate = Number of Sales / Total of visitors x 100 

เช่น มีจำนวนลูกค้าที่ซื้อสินค้าจริง 5 คน จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามา visit ร้าน 50 คนในช่วงระยะเวลา 1 เดือน

ก็จะได้ Conversion rate: 5/50 x 100 = 10%

4. %Win Rate by Channels

ในโลกดิจิทัล ณ ตอนนี้ แน่นอนว่าลีดที่โทรมาหรือ Visit อาจมีจำนวนน้อยกว่าลีดที่เข้ามาผ่านทางช่องทาง Online ทว่าเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนแล้ว จำนวนลีดที่กลายเป็นลูกค้าที่มาจากช่องทาง Offline มักจะสูงกว่าเสมอ กล่าวคือถ้าหากวันนี้คุณมีลีดที่เข้ามาจากช่องทาง Online ผ่าน Social Media วันละ 20 คน หรือ Website วันละ 10 คน ทว่าช่องทาง Offline ผ่านการโทร (Call) วันละ 5 คน และ Visit วันละ 5 คน เมื่อลีดเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นลูกค้าแล้ว กลับพบว่าลูกค้าที่มาจากการ Call มาถึง 4 คน และลูกค้าที่มาจาก Visit ก็มาถึง 5 คน ในขณะที่ช่องทาง Online กลับมาเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น

%Win Rate by Channels ของ Call จึงกลายเป็น 80% และจาก Visit เท่ากับ 100%

ในขณะที่ช่องทาง Social Media รวมกับ Website แล้วคิดเป็นเพียง 10% เท่านั้น

นอกเหนือจากนั้น ยังมีข้อมูลน่าสนใจในช่องทาง Online ที่ได้มาจาก The B2B Key Metrics Report Thailand 2021 ว่าช่องทาง Online ใดบ้างที่สร้าง Lead with Highest ROI ได้มากที่สุดในกลุ่มธุรกิจ B2B

สามารถกดอ่านข้อมูลที่น่าใจสำหรับ %Win Rate by Channels ได้ที่นี่

จากทั้งหมดนี้ จึงเกิดคำถามที่ว่า…

ธุรกิจของคุณวันนี้วางแผนกลยุทธ์ที่ดีพอทั้งสำหรับช่องทาง Offline และ Online แล้วหรือยัง และหากเทียบเป็นอัตราส่วนของลีดที่กลายเป็นลูกค้าแล้ว จำนวนลูกค้าที่มาจากช่องทางใดมาพร้อมคุณภาพมากกว่ากัน?

%Win Rate by Channels

ตัวอย่างการวัดผล Conversion Rate จาก Channel ต่าง ๆ ใน Social Media โดยเริ่มตั้งแต่ Day 1 ที่ได้ลีดผ่านช่องทางที่ใช้สื่อสารแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็น Google Ad, Facebook Ad, Facebook Lead Gen และ Line Ad ไปจนถึงวันที่เปลี่ยนจากลีดให้กลายเป็นลูกค้าได้ในที่สุด โดย Wisible สามารถวัดผลได้ทั้ง Cost per Click (CPC) และ Cost per Sales (CPS) เพื่อหาต้นทุนในการได้มาซึ่งลูกค้าจากแต่ละช่องทางได้

03 แล้ว Channel ไหนล่ะ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับธุรกิจ B2B?

แล้ว Channel ไหนล่ะ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับธุรกิจ B2B?

จากที่กล่าวไปข้างต้น เราพยายามพูดถึงความสำคัญของ Lead Quality by Channels เพื่อที่จะบอกว่าลีดที่ได้มาเยอะเพียงปริมาณนั้นไม่ได้หมายความว่าจะสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ หรือเปลี่ยนให้กลายเป็นลูกค้าได้ตามจำนวนลีด เพราะคุณภาพของลีดที่ได้มาจากในแต่ละช่องทางนั้นแตกต่างกัน หรือพูดได้อีกนัยนึงก็คือระดับความต้องการ (Need/Want) ที่มีต่อสินค้าไม่เท่ากันนั่นเอง

ปัจจุบันนี้เราเน้นการทำการสื่อสารทางช่องทาง Online มากเป็นพิเศษ เพราะไม่ว่าจะเรื่องของต้นทุน หรือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มใช้ชีวิตในโลกออนไลน์แทบจะทุกมิติ เรามีเครื่องมือสื่อสารอยู่ในแทบจะทุก Platform ทว่าเมื่อเกิดความต้องการในตัวสินค้า ช่องทางที่เป็นตัวการันตีว่าจะสามารถเปลี่ยนจากลีดให้กลายเป็นลูกค้าได้ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ B2B กลับเป็นช่องทาง Offline

เรารู้กันดีว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจ B2B นั้นต้องใช้เวลาในการตัดสินใจที่ค่อนข้างนานเพราะมูลค่าของสินค้าที่ราคาสูง และการตัดสินใจก็ไม่ได้เป็นของ Contact Person หรือผู้ที่ติดต่อที่เข้ามา หากแต่เป็นระดับผู้บริหารที่ต้องใช้เวลาตัดสินใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุด

เพราะฉะนั้น ถ้าหากลูกค้าเกิดความสนใจในตัวสินค้าของเราระดับหนึ่ง ที่อาจไม่ใช่เพียงแค่เกิด Awareness แล้ว สิ่งที่ลีดจะทำในขั้นตอนถัดไปคือการโทรเข้ามา (Call) เพื่อสอบถามรายละเอียด หรือสำหรับบางธุรกิจ ลีดอาจเดินทางมาเพื่อแวะชมสินค้าถึงที่ หรือ On Site ได้เลย

ยกตัวอย่างในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่มี Sales Cycle คล้ายกับธุรกิจ B2B เพราะเป็นสินค้ามูลค่าสูง ใช้เวลาตัดสินใจที่ยาวนาน ถ้าหากลีดเกิดความต้องการหรือคิดว่าโครงการบ้านที่เขาสนใจผ่านเกณฑ์การตัดสินใจในระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่พวกเขาจะทำต่อมาคือ Visit หรือแวะเยี่ยมชมโครงการ และนั่นก็หมายถึงลีดเหล่านั้นยอมเสียเวลา ยอมเสียต้นทุนในการเดินทางเพื่อมาแวะชม เมื่อเขายอมเสียสิ่งเหล่านั้นเพื่อมาดูสินค้าถึงที่ เขาก็ควรได้รับสิ่งที่ต้องการกลับไป นั่นก็หมายถึงโอกาสที่จะปิดดีลก็มีสูงขึ้นด้วย

แม้เราจะเคลื่อนผ่านเข้าสู่โลกแห่งดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบแล้ว แต่การตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงและมี Sales Cycle ที่ยาวนานอย่างธุรกิจ B2B และ B2C บางประเภทยังคงต้องใช้ช่องทาง Offline ในการปิดการขายกับลูกค้า และเรียกได้ว่าเป็นช่องทางสำคัญที่สามารถการันตีโอกาสในการปิดดีลที่สูงกว่าช่องทางอื่น

แน่นอนว่าช่องทาง Offline จะยังคงเป็นช่องทางที่ช่วยการันตีโอกาสในการปิดดีลได้ แต่ทว่าโลกดิจิทัลในทุกวันนี้กว่าที่ลีดจะผ่านมาถึงขั้นตอนการตัดสินใจในส่วนที่อยากจะเห็นสินค้ากับตา หรือโทรเข้ามานัดเดโม่ การทำการสื่อสารตลาดในช่องทาง Online ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ทั้งนี้ธุรกิจ B2B ควรที่จะให้ความสำคัญกับช่องทาง Online ที่มาพร้อม Lead with Highest ROI เท่านั้น

โดยที่ถ้ามองให้เจาะลึกลงไปแล้ว จะพบว่าแต่ละ Channel มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน สามารถกล่าวโดยละเอียดได้ดังนี้</p >

1. Social Media

แน่นอนว่าเรามักให้ความสำคัญกับช่องทางใน Social Media มากเป็นพิเศษ ทว่าอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เราอาจกำลัง Overrate ช่องทางนี้จนเกินไป แม้ว่าต้นทุนที่ลงไปในแต่ละ Platform จะน้อยเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น แต่ก็ได้มาซึ่ง Conversion ที่น้อยด้วยเช่นกัน เพราะลูกค้ามักจะใช้ Social Media เปรียบเสมือน “First Touch Survey” นั่นคือระดับความต้องการสินค้าอาจมีน้อยมาก แค่กดผ่าน ๆ หรืออาจจะแค่อยู่ในช่วง Screening สินค้าเท่านั้น เช่น ลูกค้าแอด Line OA มาเพื่อสอบถามข้อมูลสินค้า เเต่เมื่อได้รับคำตอบแล้วก็อาจจะไม่ถูกใจหรือไม่ได้พึงพอใจจนเกิด Demand ง่ายที่สุดที่พวกเขาสามารถทำได้ในทันทีคือการบล็อค Line OA ของร้านค้าไป และแน่นอนว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ภายใน 5 นาทีเท่านั้น

2. Website หรือ Webform

ส่วนใหญ่ของการทำ Website ก็เพื่อให้เป็นช่องทางที่สามารถแนะนำสินค้าได้ดีและละเอียดที่สุด ในหน้าเว็บก็มักจะมีช่องให้กรอกฟอร์มว่าลูกค้าสนใจที่จะรับข้อมูลสินค้าต่อหรือไม่ โดยที่จะมีเซลติดต่อกลับไป ทว่าคำถามคือบริษัทเคยวัดผลอย่างจริงจังหรือไม่ว่ามีกี่ครั้งที่ลีดกรอกฟอร์มเข้ามาแต่ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับไปจากเซล?

3. Walk-In

ช่องทาง Offline ที่สำคัญที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าลีดรายนั้นพร้อมที่จะกลายเป็นลูกค้าด้วยการเปิดเผยถึงตัวตนว่าเขาเป็นใคร ต้องการอะไร ด้วยการมาเห็นสินค้าของจริงและทดลองใช้งาน เป็นช่วงโอกาสที่ดีที่สุดที่เซลจะได้ Present สินค้าได้อย่างเต็มที่ ไปจนถึงพร้อมที่จะให้ข้อมูลติดต่อที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทร, Line ID หรือ E-Mail เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีไปจนกว่าจะปิดการขายได้

4. Phone

อีกหนึ่ง Channel ที่ถูก Underrated และถูกละเลยจากหลาย ๆ คน ทว่าช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่หมายความว่าลูกค้าพร้อมที่จะแลกข้อมูลติดต่อของเขาเองเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสินค้าที่เขาต้องการ เพราะฉะนั้นแล้วการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากบทสนทนาในโทรศัพท์จะช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจในขั้นตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการ Walk-In เข้ามา หรือการนัด Demo ได้ง่ายขึ้น

4 ผสมผสานกลยุทธ์ทั้ง Online และ Offline เพื่อสร้าง Lead with Highest ROI

ผสมผสานกลยุทธ์ทั้ง Online และ Offline เพื่อสร้าง Lead with Highest ROI


จากที่กล่าวไปข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าการทำ Lead Generation เป็นสิ่งสำคัญที่ทีมมาเกตติ้งให้ต้องให้ความสำคัญ ซึ่ง Lead Generation ก็จะนำมาสู่ลีดซึ่งจะถูกกองไว้ที่ต้นน้ำ และทีมเซลก็ต้องมารับไม้ต่อเพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นลูกค้าให้ได้ในปลายน้ำ ทว่า Lead ที่มาจากช่องทางทั้ง Online และ Offline นั้นกลับไม่ได้มีคุณภาพที่เท่ากัน

เราเน้นย้ำถึงระดับความต้องการในตัวสินค้าที่ทำให้ลีดเกิด Action จนยอมเสียต้นทุนในส่วนของเขาทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อแลกกับสิ่งที่เขาต้องการ นั่นก็คือสินค้าของเรา ซึ่ง Action ที่จะการันตีว่าโอกาสในการปิดดีลได้สูงกลับมาจากช่องทาง Offline เช่นการโทร (Call) หรือการแวะเยี่ยมชม (Visit) ในบางธุรกิจนั่นเอง

แต่ทั้งนี้การทำการสื่อสารทางการตลาดก็ควรที่จะควบคู่กันไปทั้งช่องทาง Online และ Offline ในส่วนของ Online ก็ควรที่จะเลือกใช้เครื่องมือที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ B2B มากที่สุด และเรียนรู้พฤติกรรมว่าลูกค้านิยมใช้งานใน Platform ไหนมากกว่ากัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียต้นทุนเพื่อที่จะใช้งานทุก Platform แต่สุดท้ายกลับไม่ได้มาซึ่งลีดเลย

ในขณะเดียวกันช่องทาง Offline อย่างเช่นการโทรก็ควรที่จะพัฒนาระบบให้เสถียรและช่วยให้ทีมเซลสามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น เมื่อมีการสนทนากับลีดเสร็จก็สามารถบันทึกไว้ในระบบเพื่อทำการติดตามการขายได้โดยไม่ต้องเสียเวลากรอกประวัติการโทรซ้ำทุกครั้ง หรือสามารถโทรออกได้จากระบบ CRM และทำงานได้อย่าง One Stop Service เลย

สุดท้ายนี้ คุณภาพของลีดที่ได้มาจะต้องคำนึงถึงทั้งต้นทุนของลีดที่ยอมเสียเพื่อติดต่อเข้ามาหาเรา รวมถึงต้นทุนของเราที่ยอมเสียเพื่อกวาดลีดเข้ามาให้เยอะที่สุด และเมื่อคิดเป็น %Win Rate by Channels ก็จะทำให้เราได้คำตอบว่าเราควรจะลงเงินและลงแรงกับช่องทางไหนมากที่สุดที่จะทำให้ได้มาซึ่ง Lead with Highest ROI

และถ้าหากมีเทคโนโลยีที่จะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการทำ Lead Generation เพื่อหา Lead with Highest ROI ก็คงจะช่วยทุ่นแรงการทำงานของทีมเซลในการ approach หาลีดที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่พลาดทุกรายชื่อที่รอไว้ที่ต้นน้ำ เปลี่ยนจากลีดให้กลายเป็นลูกค้า และสุดท้ายนำมาซึ่งการเพิ่มรายได้ให้บริษัท

Wisible เข้าใจ Pain Point นี้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยตอบโจทย์การทำงานของทีมเซลกับทุกลีดที่เข้ามาได้แบบไม่ตกหล่น เข้ามาพูดคุยและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Wisible.com

ติดตามข่าวสารและสาระดีๆเกี่ยวกับระบบ CRM Platform ได้ที่นี่

Similar Posts